การดูแลต้นไม้

บทความเกี่ยวกับ การดูแลรักษาต้นไม้

หน้าวัวกระถาง ควรให้ปุ๋ยเมื่อไหร่ และให้อย่างไร

หน้าวัวกระถาง ควรให้ปุ๋ยเมื่อไหร่ และให้อย่างไร

ปุ๋ยหน้าวัว ให้เมื่อไหร่!? ให้อย่างไร!?

หน้าวัว ไม้ดอกเขตร้อนซึ่งมีส่วนของฐานรองดอกที่มีสีสันสวยงาม ใบหนาและมีลักษณะเงามัน ดอกเมื่อบานแล้วมักจะอยู่ทนนานร่วมหลายเดือน สื่อถึงมิตรภาพที่มั่นคงยืนยาว จึงมักถูกเลือกใช้ให้เป็นไม้ประดับตกแต่งบริเวณบ้าน และเป็นของขวัญ-ของฝากในโอกาศพิเศษ ในปัจจุบันมีการปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อให้สีของดอกมีความหลากหลายมากขึ้น และปรับปรุงเพื่อให้ต้นมีขนาดที่มีความกระทัดรัดเหมาะแก่การปลูกในกระถางเพื่อตกแต่งภายในบ้าน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “หน้าวัวกระถาง” นั่นเองค่ะ

ต้นหน้าวัวเป็นพืชในป่าเขตร้อนชื้น ตามธรรมชาติแล้วเป็นพืชอิงอาศัยใต้ร่มไม้ที่เติบโตและใช้สารอาหารจากเปลือกไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ผุในบริเวณที่อาศัยอยู่ และเนื่องจากเป็นพืชที่เติบโตได้ช้าหน้าวัวจึงมักจะไม่ได้ต้องการธาตุอาหารมากนัก อย่างไรก็ตามหน้าวัวตกแต่งบ้านที่ปลูกเลี้ยงในกระถางจะมีพื้นที่ของกระถางและปริมาณของวัสดุปลูกที่จำกัดจึงต้องมีการเติมปุ๋ยเพื่อคงแร่ธาตุในดินเพื่อให้ต้นหน้าวัวของเราคงความแข็งแรง-ทนต่อโรคและแมลง และยังคงความสวยงามของดอกและใบอีกด้วยค่ะ

จะเกิดอะไรขึ้นหากหน้าวัวขาดสารอาหาร?

สัญญานที่บ่งบอกถึงการขาดธาตุอาหารของต้นหน้าวัวได้แก่ ใบมีสีซีดซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่โดนแดดโดยตรง หรือแดดจัดจนเกินไป อย่างไรก็ตามหากต้นหน้าวัวที่เราเลี้ยงมีลักษณะใบซีดทั้งที่อยู่ในที่มีแสงรำไรอย่างเหมาะสม นั่นอาจเป็นสัญญานหนึ่งของการขาดธาตุอาหารค่ะ นอกจากนี้ยังมีสัญญานอื่นๆเพิ่มเติมเช่น สีของดอกซีด-ไม่สดใส ดอกเล็ก หรือไม่ยอมมีดอกใหม่เพิ่มทั้งๆที่ไม่ใช่ช่วงพักตัว เป็นต้นค่ะ

เราควรให้ปุ๋ยอย่างไร และบ่อยแค่ไหน?

การให้ปุ๋ยเพื่อบำรุงต้นควรให้ทุกๆ 4-6 สัปดาห์ในช่วงหน้าร้อนและหน้าฝนซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หน้าวัวกำลังเติบโต ร่วมกับการตัดแต่งกิ่ง-ใบ หรือการย้ายกระถางเพื่อกระตุ้นให้หน้าวัวได้ออกดอกและใบใหม่ และสำหรับในช่วงหน้าหนาวที่อากาศเย็นลง ต้นหน้าวัวจะมีการเติบโตที่ช้าลง(พักตัว)ได้บ้าง ในช่วงนี้ควรจะเว้นการให้ปุ๋ยไปก่อนค่ะ

โดยใช้ปุ๋ยที่มีสูตรเสมอของธาตุ N-P-K เช่นสูตร 16-16-16 เพื่อบำรุงต้นหน้าวัวในทุกๆด้าน อย่างไรก็ตามเนื่องจากหน้าวัวเป็นพืชที่ไม่ต้องการปุ๋ยมากนัก การให้ปุ๋ยที่เข้มข้นมากเกินไปจะทำให้ดินเค็มซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อต้นหน้าวัวได้ หากเลือกใช้ปุ๋ยน้ำเราจึงควรที่จะเจือจางลงกว่าอัตราปกติให้เหลือเพียง 1 ใน 4 เท่า หรือหากเลือกใช้ปุ๋ยเม็ดแบบละลายช้าก็ควรให้ปุ๋ยทุก 2-3 เดือน และโรยในปริมาณน้อยๆก่อนค่ะ

และหากหน้าวัวไม่ยอมมีดอกใหม่เพิ่ม หรือดอกมีสีสันที่ไม่สดใส ผู้ปลูกเลี้ยงก็สามารถสลับมาใช้ปุ๋ยที่มีอัตราส่วนของค่าโพแทสเซียม(P)สูงกว่าค่าอื่นๆควบคู่ไปด้วยเพื่อกระตุ้นการออกดอกและบำรุงดอก เช่นสูตร 8-24-24 หรือ 12-24-12

โดยวิธีการให้ปุ๋ย ควรให้ 1 วันหลังจากวันที่เราทำการรดน้ำต้นหน้าวัวตามปรกติ โดยค่อยๆรดปุ๋ยน้ำเจือจางที่เราเตรียมไว้ลงบนหน้าดินให้ทั่วจนกระทั่งน้ำทะลุผ่านรูระบายน้ำบริเวณก้นกระถางออกไป และหากมีจานรองกระถางให้เทน้ำปุ๋ยทิ้งไปอย่าให้มีน้ำปุ๋ยขังที่จานรองกระถางนะคะ

การให้ปุ๋ยหน้าวัวที่มากเกินไปจะส่งผลอย่างไร

การให้ปุ๋ยที่มากเกินไปไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อต้นหน้าวัว ปุ๋ยที่เข้มข้นมากเกินไปจะส่งผลให้ดินเค็มจะทำให้ต้นหน้าวัวมีอาการใบเหลือง ใบไหม้ ใบหลุดร่วง ก้านใบแคระแกรน อาจทำให้รากเน่า และตายได้ หากผู้ปลูกเลี้ยงให้ปุ๋ยหน้าวัวมากเกินไป สามารถแก้ไขและบรรเทาได้โดยการใช้น้ำสะอาดรดค่อยๆรดที่หน้าดินจนกระทั่งน้ำไหลผ่านก้นกระถางทิ้งไป ทำช้าๆ และทำซ้ำประมาณ 4-5 ครั้ง น้ำสะอาดจะช่วยชะล้างและนำพาแร่ธาตุส่วนเกินออกมาค่ะ

 

เห็นไหมคะว่าการดูแลต้นหน้าวัวให้คงความสวยงามไม่ใช่เรื่องยาก หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบและเข้าใจถึงวิธีการให้ปุ๋ยแก่ต้นหน้าวัว เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปดูแลหน้าวัวที่บ้านให้มีความสวยงาม สดใส อยู่คู่กับเราไปนานๆค่ะ


แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้
แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia ‘Azlanii’

แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia ‘Azlanii’

อโลคาเซีย อัสลานิอาย (Alocasia 'Azlanii') ... สีสวย จนแทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง ...

เป็นไม้ใบในกลุ่มอโลคาเซียที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มอโลคาเซียที่หายาก มีขนาดเล็กกระทัดรัดซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนในพื้นที่ของเกาะบอร์เนียว (Borneo) ใบเป็นรูปทรงวงรีปลายใบแหลม ผิวหน้าใบเป็นมันเงามีสีเขียวเข้มเจือด้วยสีม่วงแดง ขอบใบสีขาว หลังใบมีสีม่วง เมื่อหน้าใบสะท้อนกับแสงแดดหรือแสงไฟจะเห็นสีม่วงแดงเป็นประกายชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจัดเป็นลักษณะที่โดดเด่นและเป็นเฉดสีที่พบได้ยากในไม้ใบโดยทั่วไป และด้วยขนาดที่กระทัดรัดจึงเหมาะแก่การปลูกเลี้ยงในพื้นที่ที่จำกัด เช่น ออฟฟิศ คอนโดฯ และภายในบ้าน

 

การดูแลรักษา

  • ชอบที่ๆมีแสงสว่างค่อนข้างมาก แต่ไม่ควรโดนแดดจัดโดยตรงเนื่องจากจะทำให้ใบไหม้แดดได้ สามารถวางบริเวณระเบียงหรือริมหน้าต่างที่รับแดดอ่อนๆช่วงเช้าได้ค่ะ
  • อุณหภูมิที่เหมาะสม: 15-35 องศาเซลเซียส (Celsius)
  • ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ รดน้ำเฉลี่ย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ (สามารถปรับเพิ่มและลดการให้นำได้โดยอิงจากสภาพความชื้นและภูมิอากาศ โดยรดน้ำเมื่อผิวหน้าดินด้านบน 1-2 นิ้วเริ่มแห้ง) ควรระวังอย่าปล่อยให้ดินทั้งกระถางแห้งจนเกินไป และหลีกเลี่ยงน้ำขังที่บริเวณจานรองกระถางเพื่อป้องกันรากเน่า
  • เติบโตได้ดีที่ความชื้นในอากาศประมาณ 40%-75% สามารถปลูกในห้องครัว ห้องน้ำ หรือในสวนร่วมกับต้นไม้อื่นๆเพื่ออิงความชื้นกัน จะทำให้ต้นไม้แข็งแรงสมบูรณ์ และมีใบที่เงางามค่ะ หากเราปลูกในบ้าน อาจช่วยเพิ่มความชื้นรอบต้นได้ด้วยการวางบนจานรองกระถางที่ใส่เม็ดดินเผาและน้ำไว้ หรือวางไว้ใกล้กับเครื่องทำความชื้นค่ะ
  • สามารถให้ปุ๋ยชนิดเม็ดละลายช้าทุก 3 เดือน และให้ปุ๋ยสูตรละลายน้ำสามารถผสมน้ำแบบเจือจางโดยลดปริมาณปุ๋ยจากอัตราส่วนหน้าฉลากลงครึ่งหนึ่ง รดลงที่ดินปลูกทุก 6 สัปดาห์ค่ะ
  • ควรเลือกใช้วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมที่ช่วยเพิ่มความโปร่ง และเก็บความชื้นได้ดีเพื่อป้องกันรากเน่า ยกตัวอย่างเช่น เปลือกไม้  กาบมะพร้าวสับ เพอไลท์เมล็ดหยาบ หินภูเขาไฟ และพีทมอส

 

ข้อแนะนำ

  • อโลคาเซียมักมีช่วงพักตัว ในระหว่างนั้นใบจะซีดเหลืองและหลุดร่วงไป(ทิ้งใบ) ซึ่งไม่ต้องตกใจ ในช่วงพักตัวต้นอโลคาเซียจะมีความต้องการน้ำและปุ๋ยที่ลดลง ให้ผู้เลี้ยงลดการให้ปุ๋ย และเปลี่ยนการรดน้ำจากเดิมมาเป็นรดเมื่อพบว่าดินแห้งแทนค่ะ
  • ควรหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนกระถางบ่อยๆโดยไม่จำเป็น เนื่องจากจะเป็นการไปรบกวนระบบราก และทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักได้ค่ะ
  • เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบแสงสว่างจึงอาจมีอาการเอนเข้าหาแสงหากปลูกเลี้ยงภายในบ้าน ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการหมั่นหมุนกระถางทุกครั้งที่เรารดน้ำเพื่อให้ด้านอื่นๆได้รับแสงอย่างทั่วถึงค่ะ
  • พืชชนิดนี้สามารถก่ออาการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตาได้ และเป็นไม้ที่เป็นพิษอ่อนๆหากรับประทานเข้าไป ผู้ปลูกเลี้ยงที่มีเด็กและสัตว์เลี้ยงจึงควรระมัดระวังค่ะ
  • หากพบว่าอโลคาเซียที่เราปลูกเลี้ยงมีใบเหลืองหรือไหม้ โดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ปลูกเลี้ยงสามารถศึกษาข้อมูลได้จากบทความ ทำไมอโลคาเซีย (Alocasia) ถึงใบเหลือง !? เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขค่ะ

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ (Botanical Name)

  • Alocasia ‘Azlanii’

ชื่ออื่นๆ (Other Names)

  • อโลคาเซีย อัสลานิอาย (หรือ อัสลานี่)
  • Jewel Alocasia
  • Red Mambo

ถิ่นกำเนิดดั้งเดิม (Natural Habitat)

  • เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เกาะบอร์เนียว)
  • South East Asia (Borneo)

กลุ่มไม้ฟอกอากาศ (Air Purifying)

  • ใช่ / Yes

ความสูงตามธรรมชาติ (Plant Height – Max.)

  • 60-80 เซนติเมตร (CM)

ความเป็นพิษ (Toxicity)

  • เป็นอัตรายหากนำเข้าปาก โปรดระมัดระวังหากมีเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • Calcium Oxalate (สารที่พบในพืชกลุ่ม Araceae) สามารถทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคืองได้
  • Toxic if ingested, Keep away from small children and pets.
  • Insoluable Calcium Oxalate (found in plants of Araceae family) causes skin and eye irritant.

แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้
แนะนำพันธุ์ไม้ Calathea musaica ‘Network’

แนะนำพันธุ์ไม้ Calathea musaica ‘Network’

คล้าโมเสก (aka. Calathea 'Mosaic')

เป็นคล้าที่มีถิ่นกำเนิดในป่าเขตร้อนแถบบราซิล มักถูกนิยมเรียกในภาษาอังกฤษว่า Calathea Network หรือคล้าโมเสกในภาษาไทย มีความสวยงามและโดดเด่นด้วยลวดลายของใบที่เป็นเส้นตัดกันคล้ายกับกระจกโมเสกสลับสีเขียวเข้ม-เขียวอ่อนทั่วทั้งใบ หน้าใบมันเงา ขอบใบเป็นหยัก ความสูงจากพื้นดินเมื่อโตเต็มที่สามารถสูงได้ถึง 60 ซ.ม. (ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวิธีการปลูกเลี้ยง)

เป็นคล้าที่ชอบแสงแบบรำไรอีกทั้งยังค่อนข้างทนทานต่อโรคและแมลง และไม่ต้องการการเอาใจใส่มากนักเมื่อเทียบกับคล้าชนิดอื่นๆ จึงเหมาะที่จะเป็นไม้กระถางสำหรับตกแต่งภายในบ้านสำหรับนักปลูกมือใหม่ค่ะ


แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้
แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia ‘Zebrina’

แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia ‘Zebrina’

อโลคาเซีย เซบรินา (Alocasia 'Zebrina')

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ (Botanical Name)

  • Alocasia ‘Zebrina’

ชื่ออื่นๆ (Other Names)

  • อโลคาเซียม้าลาย

ถิ่นกำเนิดดั้งเดิม (Natural Habitat)

  • เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • South East Asia

กลุ่มไม้ฟอกอากาศ (Air Purifying)

  • ใช่ / Yes

ความสูงตามธรรมชาติ (Plant Height – Max.)

  • 100-120 เซนติเมตร (CM)

ความเป็นพิษ (Toxicity)

  • เป็นอัตรายหากนำเข้าปาก โปรดระมัดระวังหากมีเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • Calcium Oxalate (สารที่พบในพืชกลุ่ม Araceae) สามารถทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคืองได้
  • Toxic if ingested, Keep away from small children and pets
  • Insoluable Calcium Oxalate (found in plants of Araceae family) causes skin and eye irritant

แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้
ฤดูฝน!? ดูแลไม้กระถางอย่างไร

ฤดูฝน!? ดูแลไม้กระถางอย่างไร

6 เคล็ดลับ การดูแลไม้กระถางในฤดูฝน

ฤดูฝนจัดเป็นฤดูแห่งการเติบโตและเจริญงอกงามของพืช นอกจากปริมาณน้ำฝนและความชื้นในอากาศที่เพิ่มขึ้น อุณหภูมิที่ไม่ร้อนจนเกินไปยังมีส่วนช่วยให้ต้นไม้ชุ่มชื่น เขียวขจี และดูมีชีวิตชีวาเป็นพิเศษ นอกจากสภาพอากาศที่แตกต่างจากฤดูอื่นๆแล้ว ท่านทราบหรือไม่ว่า วิธีการปลูกเลี้ยงและดูแลไม้กระถางในฤดูฝนก็มีความแตกต่างเช่นกัน ในวันนี้ทาง สวนเกษตร 32 นำเคล็ดลับในการดูแลไม้กระถางในช่วงหน้าฝนมาฝากค่ะ

ตรวจสอบบริเวณที่วางกระถาง

ผู้ปลูกเลี้ยงควรตรวจสอบบริเวณที่วางกระถาง เพื่อให้แน่ใจว่าอยู่ในจุดที่ไม่โดนลมแรงและไม่โดนฝนสาด เพื่อป้องกันต้นไม้ล้มและหักจากลมแรงหรือความเสียหายจากการที่หน้าดินถูกน้ำฝนในปริมาณมากชะล้าง อีกทั้งยังต้องแน่ใจว่าบริเวณนั้นๆมีแสงสว่างที่เพียงพอต่อต้นไม้ของเราด้วยค่ะ

หมั่นเช็คความชื้นของดินก่อนทำการรดน้ำ

โดยปรกติแล้วเราอาจได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับความถี่ในการรดน้ำต้นไม้จากพ่อค้าแม่ค้า อย่างไรก็ตามในช่วงฤดูฝนจะมีความชื้นภายในอากาศอยู่มากทำให้ดินหรือวัสดุปลูกแห้งช้ากว่าฤดูอื่นๆ ผู้ปลูกเลี้ยงจึงควรที่จะตรวจเช็คความชื้นของดินก่อนทำการรดน้ำทุกครั้ง หากพบว่าผิวหน้าดินยังมีความชื้นแฉะอยู่มากอาจเว้นระยะเวลาในการให้น้ำให้นานขึ้นหรือรดแต่น้อยเพื่อไม่ให้ต้นไม้ของเราได้รับน้ำมากเกินไปจนอาจเกิดปัญหารากเน่าตามมาในภายหลังได้ค่ะ

กระถางที่เลือกใช้ควรมีรูระบายน้ำที่เพียงพอ

หากพบว่าดินหรือวัสดุปลูกในกระถางมีน้ำขังชุ่มเป็นเวลานาน ควรตรวจสอบว่ากระถางที่ใช้มีรูระบายน้ำมากพอหรือไม่ หากมีรูระบายน้ำน้อยผู้ปลูกอาจพิจารณาเปลี่ยนกระถาง และในกรณีที่มีจานรองกระถางควรหมั่นเทน้ำที่ขังในจานรองทิ้งไปค่ะ

พรวนดินด้านบนกระถาง

หากพบว่าผิวดินด้านบนกระถางอัดแน่นหรือมีพืชในกลุ่มมอสปกคลุมที่ผิวดิน ควรทำการพรวนดินด้านบนเพื่อเพิ่มความโปร่ง ร่วนซุยให้น้ำและอากาศไหลผ่านได้ดี อย่างไรก็ตามควรทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้รากของพืชเสียหายค่ะ

การให้ปุ๋ย

ในช่วงฤดูฝน ไม้กระถางที่ปลูกเลี้ยงภายนอกบ้านมีโอกาสที่จะได้รับน้ำฝนปริมาณมาก ซึ่งน้ำฝนเหล่านี้จะทำหน้าที่ชะล้างแร่ธาตุในดินออกไป ผู้ปลูกเลี้ยงสามารถเลือกใช้ปุ๋ยชนิดเม็ดแบบละลายช้าเพื่อป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารในดิน และนอกจากนี้ยังสามารถเลือกใช้ปุ๋ยชนิดพ่นทางใบเพื่อที่พืชจะได้ดูดซึมและนำไปใช้ได้ทันทีค่ะ

ไม่ลืมที่จำกำจัดเชื้อราและศัตรูพืช

ปัญหาของการปลูกพืชที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าฝนที่มีความชื้นมากมักมีสาเหตุมาจากเชื้อรา หนอน หอยทาก และแมลง ผู้ปลูกเลี้ยงจึงควรหมั่นสังเกตุหากพบศัตรูพืช ควรรีบกำจัดเพื่อป้องกันการลุกลามค่ะ

หากพบว่าใบไหม้มีลักษณะเป็นวงเว้าเข้าไปในบริเวณปลายใบหรือขอบใบ หรือพบยอดเน่า ต้นเน่า นั่นอาจเป็นข้อบ่งชี้ถึงปัญหาเกี่ยวกับเชื้อราในพืช ผู้ปลูกเลี้ยงสามารถเลือกใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาซึ่งเป็นเชื้อราชนิดดี ที่จะช่วยทำลายเชื้อราก่อโรค และเพิ่มความแข็งแรง มีความต้านทานต่อโรคให้แก่พืชของเราค่ะ (เชื้อไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อที่ไม่มีอันตรายต่อคนและสัตว์ จึงเป็นทางเลือกที่ปลอดสารพิษค่ะ)

หากพบแมลงศัตรูพืช เบื้องต้นถ้ามีจำนวนไม่มากสามารถใช้ผ้าหรือฟองน้ำชุบน้ำผสมสบู่เหลวหรือน้ำยาล้างจานอ่อนๆ เช็ดที่บริเวณหน้าใบและหลังใบให้ทั่ว ทำซ้ำทุกๆ 4-6 วันติดต่อกัน 3-4 ครั้งจนกว่าแมลงที่กำจัดจะหมดไปค่ะ หรือหากพบแมลงในจำนวนมากสามารถเลือกใช้น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำฉีดพ่นที่ใบและลำต้นเพื่อไล่แมลงได้เช่นกันค่ะ (วิธีการใช้และอัตราการผสมขึ้นอยู่กับคำแนะนำของผู้จำหน่ายค่ะ)

หากพบหนอนและหอยทากควรรีบกำจัดโดยการจับไปทิ้งเพื่อป้องกันการเพิ่มจำนวน

เห็นไหมคะว่าการปลูกเลี้ยงต้นไม้ในหน้าฝนให้สวยงามเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไปเพียงแค่เรานำเคล็ดลับต่างๆเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ หวังว่าทุกๆท่านจะมีความสุขกับการดูแลต้นไม้และทำสวนในฤดูฝนนี้นะคะ สำหรับวันนี้แอดมินต้องขอลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่กับบทความหน้าค่ะ


แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้
แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia sarawakensis ‘Yucatan Princess’

แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia sarawakensis ‘Yucatan Princess’

Alocasia sarawakensis 'Yucatan Princess'

อโลคาเซีย ‘ยูคาตัน ปริ้นเซส’ ไม้ใบเขตร้อน ปลูกง่าย โตไว มีใบที่สวยงาม ลักษณะเมื่อโตเต็มที่จะสูงประมาณ 4-8 ฟุต สูงสง่าใบขนาดใหญ่ทรงหัวใจสีเขียวเข้มอมเทามีความมันเงา และมีก้านสีน้ำตาลช๊อคโกแลตแกมม่วง เลี้ยงง่ายและทนทาน สามารถปลูกได้ทั้งในที่ๆมีแสงมากและในพื้นที่แสงรำไร (เลี่ยงแดดจัดโดยตรงนะคะ เพราะอาจทำให้น้องใบไหม้ได้ค่ะ) ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ เหมาะแก่การจัดสวน และตกแต่งบริเวณชานบ้านหรือในบ้าน

ข้อมูลเบื้องต้น การดูแลรักษา

  • แสงสว่าง ☀️ : สามารถปลูกได้ทั้งในที่ๆมีแสงมากและในพื้นที่แสงรำไร และสามารถรับแสงช่วงบ่ายได้ (เลี่ยงแดดจัดโดยตรงนะคะ เพราะอาจทำให้น้องใบไหม้ได้ค่ะ)
  • อุณหภูมิ 🌡: 20-25 C.
  • น้ำ 💧 : รดน้ำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง (รดเมื่อผิวดิน 1-2 ซม. ด้านบนเริ่มแห้ง) และหลีกเลี่ยงน้ำขังที่บริเวณจานรองกระถางเพื่อป้องกันรากเน่าค่ะ
  • ความชื้น 💦 : เนื่องจากเป็นไม้ที่ชอบความชื้น การปลูกในห้องน้ำ หรือในสวนร่วมกับต้นไม้อื่นๆเพื่ออิงความชื้นกันจะทำให้ต้นไม้แข็งแรงสมบูรณ์ และมีใบที่เงางามค่ะ หากเราปลูกในบ้าน อาจช่วยเพิ่มความชื้นรอบต้นได้ด้วยการวางบนจานรองกระถางที่ใส่เม็ดดินเผาและน้ำไว้ หรือวางไว้ใกล้กับเครื่องทำความชื้นค่ะ
  • ปุ๋ย : สามารถให้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าทุกๆ 3 เดือน
  • วัสดุปลูก : ควรเลือกใช้วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมที่ช่วยรักษาความชื้นแต่ระบายน้ำได้ดี เช่น เพอร์ไลท์, หินภูเขาไฟ

ข้อควรรู้

  • พืชชนิดนี้มีดอกเป็นสีขาวครีมแต่จะพบได้น้อย ส่วนใหญ่มักไม่ออกดอก
  • หากเลือกปลูกนอกบ้านควรหลีกเลี่ยงการวางเดี่ยวๆในบริเวณที่มีลมพัดแรง เนื่องจากจะทำให้ต้นเสียหายได้
  • อโลคาเซียมักมีช่วงพักตัว ในระหว่างนั้นใบจะซีดเหลืองและหลุดร่วงไป(ทิ้งใบ) ซึ่งไม่ต้องตกใจ ในช่วงพักตัวต้นอโลคาเซียจะมีความต้องการน้ำที่ลดลง ให้ผู้เลี้ยงเปลี่ยนการรดน้ำมาเป็นรดเมื่อพบว่าดินแห้งแทนค่ะ
  • ใบของอโลคาเซียสามารถก่ออาการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตาได้ และเป็นไม้ที่เป็นพิษหากรับประทานเข้าไป ผู้ปลูกเลี้ยงที่มีเด็กและสัตว์เลี้ยงจึงควรระมัดระวังค่ะ

แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้
แนะนำพันธุ์ไม้ Doryopteris cordata ‘Antenna Fern’

แนะนำพันธุ์ไม้ Doryopteris cordata ‘Antenna Fern’

Doryopteris cordata 'Antenna Fern' เฟิร์นเสาอากาศสื่อรัก

เฟิร์นตัวใหม่ สวย ไม่เหมือนใคร แถมยังน่ารักอีกด้วย

Antenna Fern หรือ เฟิร์นเสาอากาศสื่อรัก

เฟิร์นเสาอากาศ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Doryopteris cordata เป็นเฟิร์นที่มีลักษณะเด่นโดย มีก้านใบชูสูงคล้ายเสาอากาศซึ่งเป็นใบที่ใช้สำหรับการสร้างสปอร์และขยายพันธุ์ และจะมีใบอีกแบบหนึ่งซึ่งแผ่ปกคลุมดิน มีลักษณะใบหนารูปทรงกลมมนและเป็นหยัก ใบทั้งสองชนิดมีสีเขียวเข้ม เป็นไม้ที่เลี้ยงไม่ยาก ไม่ต้องเอาใจใส่มาก ชอบความชื้นและแสงแบบรำไร และด้วยขนาดที่กระทัดรัดจึงเหมาะที่จะปลูกเลี้ยงไว้ภายในบ้านค่ะ

ข้อมูลเบื้องต้น การดูแลรักษา

  • แสง : ชอบแสงแบบรำไร หลีกเลี่ยงแดดจัดโดยตรง หากไว้ในบ้านควรวางไว้ใกล้หน้าต่างที่รับแดดอ่อนๆช่วงเช้า (หากวางบริเวณระเบียงควรหลีกเลี่ยงลมร้อนจากคอมเพรสเซอร์แอร์ด้วยนะคะ)
  • อุณหภูมิ : 15-30 C.
  • น้ำ : รดน้ำ 1-2 วัน/ ครั้ง เมื่อผิวดินด้านบนสุดเริ่มแห้ง และควรเลือกใช้น้ำที่ไม่มีคลอรีนเช่น น้ำฝน น้ำกรอง น้ำดื่ม(ที่ไม่ใช่น้ำแร่) หรือหากใช้น้ำประปาควรรองน้ำทิ้งไว้ในถังโดยไม่ปิดฝา 2-3 วันก่อนนำมาใช้เพื่อให้คลอรีนระเหยออกไปก่อน และหลีกเลี่ยงน้ำขังที่บริเวณจานรองกระถางเพื่อป้องกันดินแฉะเกินไปซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้รากเน่าค่ะ
  • ความชื้น  :  เฟิร์นเป็นพืชที่ชอบความชื้น สามารถปลูกภายนอกบ้านภายใต้ร่มไม้ใหญ่และปลูกร่วมกับต้นไม้อื่นๆเพื่ออิงความชื้น และหากเราปลูกเลี้ยงภายในบ้าน ควรหมั่นรักษาความชื้นให้กับช่วงลำต้นและใบด้วยการใช้สเปรย์ฟ๊อกกี้ฉีดพ่นหรือวางไว้ใกล้กับเครื่องทำความชื้น หรือรองก้นกระถางด้วยจานรองที่ใส่เม็ดดินเผาหล่อน้ำไว้เพื่อให้มีความชื้นระเหยขึ้นไปก็สามารถทำได้เช่นกันค่ะ
  • ปุ๋ย : เป็นไม้ที่ไม่ค่อยต้องการปุ๋ยมากนัก สามารถให้ปุ๋ยชนิดเม็ดละลายช้าสูตรเสมอทุกๆ 3 เดือน หรือหากเลือกใช้ปุ๋ยชนิดน้ำสามารถรดได้เดือนละ 1 ครั้ง และควรละลายแบบเจือจางลงครึ่งหนึ่งจากคำแนะนำในฉลากค่ะ
  • วัสดุปลูก : ควรเลือกใช้วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมที่อุดมไปด้วยสารอาหารอินทรีย์ เช่น พีทมอส ดินใบก้ามปู และวัสดุที่สามารถระบายน้ำได้ดี และสามารถรักษาความชื้นได้ดีแต่ไม่แฉะจนเกินไป เช่น เพอไลท์ เม็ดดินเผา

ข้อควรรู้

  • เฟิร์นเสาอากาศเป็นไม้ที่ไม่มีพิษ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
  • ควรหมั่นตัดใบที่เหี่ยวแห้งบริเวณโคนต้นใกล้ผิวดินทิ้งไป เพื่อป้องกันต้นเฟิร์นจากโรคและเชื้อราต่างๆค่ะ

แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้
แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia reginula ‘Black Velvet’

แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia reginula ‘Black Velvet’

Alocasia ‘Black Velvet’ มังกรกำมะหยี่ แบล็คเวลเวท

ครั้งนี้ “สวนเกษตร 32” จะมาแนะนำไม้ใบฟอกอากาศที่มีความสวยงามโดดเด่น เป็นที่นิยม และครองใจคนรักต้นไม้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังถูกจัดให้เป็นอีกหนึ่งอัญมณีในกลุ่มอโลคาเซียด้วยค่ะ

Alocasia reginula ‘Black Velvet’ หรือ มังกรกำมะหยี่ เป็นพืชในกลุ่มอโลคาเซียที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนในพื้นที่ของเกาะบอร์เนียวเช่นเดียวกับ อโลคาเซีย เกล็ดมังกร (Dragon Scale) ลักษณะลำต้นและใบอวบน้ำ รูปร่างของใบเป็นทรงหัวใจกลมมน ใบหนาสีเขียวเข้มเกือบดำผิวมีหน้าใบนุ่มนวลคล้ายกับผ้ากำมะหยี่ ตัดสีสันด้วยเส้นใบสีเงิน ความสูงเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 25-40 ซ.ม.(ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวิธีปลูกเลี้ยง)

ด้วยความที่เป็นไม้กระถางที่มีขนาดเล็กกระทัดรัด แต่เรียบหรู และสวยอย่างมีสไตล์ จึงได้รับการขนานนามว่า “ราชินีตัวน้อย” ซึ่งเป็นความหมายของคำว่า Reginula ที่เป็นคำในภาษาละตินนั่นเองค่ะ

ข้อมูลเบื้องต้น การดูแลรักษา

  • แสง: ชอบที่ๆมีแสงสว่างค่อนข้างมากแต่ไม่ควรโดนแดดจัดโดยตรงเนื่องจากจะทำให้ใบไหม้แดดได้ สามารถวางบริเวณระเบียงหรือริมหน้าต่างที่รับแดดอ่อนๆช่วงเช้าได้ค่ะ
  • อุณหภูมิ: 12-30 C. และควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอุณหภูมิมากกว่า 35 C
  • น้ำ: ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ รดน้ำเฉลี่ย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ (สามารถปรับเพิ่มและลดการให้นำได้โดยอิงจากสภาพความชื้นและภูมิอากาศ โดยรดน้ำเมื่อผิวหน้าดินด้านบน 1-2 นิ้วเริ่มแห้ง) ควรระวังอย่าปล่อยให้ดินทั้งกระถางแห้งจนเกินไปและหลีกเลี่ยงน้ำขังที่บริเวณจานรองกระถางเพื่อป้องกันรากเน่า
  • ความชื้น:  เติบโตได้ดีที่ความชื้นในอากาศประมาณ 40%-75% สามารถปลูกในห้องครัว ห้องน้ำ หรือในสวนร่วมกับต้นไม้อื่นๆเพื่ออิงความชื้นกันจะทำให้ต้นไม้แข็งแรงสมบูรณ์ และมีใบที่เงางามค่ะ หากเราปลูกในบ้าน อาจช่วยเพิ่มความชื้นรอบต้นได้ด้วยการวางบนจานรองกระถางที่ใส่เม็ดดินเผาและน้ำไว้ หรือวางไว้ใกล้กับเครื่องทำความชื้นค่ะ
  • ปุ๋ย: สามารถให้ปุ๋ยชนิดเม็ดละลายช้าทุก 3 เดือน และให้ปุ๋ยสูตรละลายน้ำสามารถผสมน้ำแบบเจือจางโดยลดปริมาณปุ๋ยจากอัตราส่วนหน้าฉลากลงครึ่งหนึ่ง รดลงที่ดินปลูกทุก 6 สัปดาห์ค่ะ
  • วัสดุปลูก: ควรเลือกใช้วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมที่ช่วยเพิ่มความโปร่งและเก็บความชื้นได้ดีเพื่อป้องกันรากเน่า ยกตัวอย่างเช่น เปลือกไม้  กาบมะพร้าวสับ เพอไลท์เมล็ดหยาบ หินภูเขาไฟ และพีทมอส

ข้อควรรู้

  1. อโลคาเซียมักมีช่วงพักตัว ในระหว่างนั้นใบจะซีดเหลืองและหลุดร่วงไป(ทิ้งใบ) ซึ่งไม่ต้องตกใจ ในช่วงพักตัวต้นอโลคาเซียจะมีความต้องการน้ำและปุ๋ยที่ลดลง ให้ผู้เลี้ยงลดการให้ปุ๋ย และเปลี่ยนการรดน้ำจากเดิมมาเป็นรดเมื่อพบว่าดินแห้งแทนค่ะ
  2. ควรหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนกระถางบ่อยๆโดยไม่จำเป็นเนื่องจากจะเป็นการไปรบกวนระบบรากและทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักได้ค่ะ
  3. เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบแสงสว่างจึงอาจมีอาการเอนเข้าหาแสงหากปลูกเลี้ยงภายในบ้าน ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการหมั่นหมุนกระถางทุกครั้งที่เรารดน้ำเพื่อให้ด้านอื่นๆได้รับแสงอย่างทั่วถึงค่ะ
  4. พืชชนิดนี้มีดอกขนาดเล็กกลีบดอกสีขาวครีมซึ่งไม่ค่อยดึงดูดสายตานัก หากผู้ปลูกเลี้ยงไม่ต้องการก็สามารถตัดดอกทิ้งไปได้เพื่อสงวนสารอาหารให้กับต้นในการสร้างใบใหม่ต่อไปค่ะ
  5. พืชชนิดนี้สามารถก่ออาการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตาได้ และเป็นไม้ที่เป็นพิษอ่อนๆหากรับประทานเข้าไป ผู้ปลูกเลี้ยงที่มีเด็กและสัตว์เลี้ยงจึงควรระมัดระวังค่ะ
  6. หากพบว่าอโลคาเซียที่เราปลูกเลี้ยงมีใบเหลืองหรือไหม้ โดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ปลูกเลี้ยงสามารถศึกษาข้อมูลได้จาก https://www.kaset32farm.com/article/plant-care/alocasia-turning-yellow/ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขค่ะ

แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้
แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia baginda ‘Dragon Scale’

แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia baginda ‘Dragon Scale’

สวยเกินหน้าเกินตาเพื่อน สวยแบบไม่เกรงใจใคร Alocasia 'Dragon Scale'

วันนี้แอดจะพามารู้จักกับไม้ใบที่สวยแบบไม่ธรรมดากับ Alocasia baginda ‘Dragon Scale’ (อโลคาเซีย บากินดา ดรากอน สเคล) หรือ อโลคาเซีย เกล็ดมังกร ไม้ใบที่ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในอัญมณีแห่งอโลคาเซีย ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจและเป็นที่ต้องการอย่างมากในกลุ่มผู้ปลูกเลี้ยงอโลคาเซียค่ะ

Alocasia baginda ‘Dragon Scale’ (อโลคาเซีย บากินดา ดรากอน สเคล) มีถิ่นกำเนิดในป่าเขตร้อนของเกาะบอเนียว มีลักษณะโดดเด่น ใบหนา ผิวหน้าใบมีความเงางาม มีเส้นใบและลายใบที่ชัดเจนคล้ายหินแกะสลัก หน้าใบเป็นสีเงินเหลือบเขียวโทนสว่างและไล่สีเขียวเข้มขึ้นไปที่เส้นใบ ด้านหลังใบเป็นสีครีมอ่อนๆ เส้นใบด้านหลังเป็นสีม่วงมารูน(ม่วงอมแดง) ใบอ่อนจะมีสีที่เข้มขึ้นเมื่อโตเต็มที่ ด้วยลวดลายและเส้นใบที่เป็นเอกลักษณ์จึงได้รับสมญานามว่า Dragon Scale หรือเกล็ดมังกรนั่นเอง

ด้วยความสวยงามและมีรูปลักษณ์โดดเด่น แปลกตา จึงสวยสะดุดตาผู้ชมแม้จะจัดวางเดี่ยวๆ หรือหากวางเป็นกลุ่มร่วมกับไม้ชนิดอื่นๆก็สวยเด่นดึงดูดสายตาผู้ชมได้เป็นอย่างดีเช่นกัน อีกทั้งพืชชนิดนี้ยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มของอโลคาเซียที่ไม่ต้องการการดูแลมากนัก เหมาะที่จะเลี้ยงในบ้านอีกด้วยค่ะ

ข้อมูลเบื้องต้น การดูแลรักษา

  • แสง ☀️ : ชอบที่ๆมีแสงสว่างค่อนข้างมากแต่ไม่ควรโดนแดดจัดโดยตรงเนื่องจากจะทำให้ใบไหม้แดดได้ สามารถวางบริเวณระเบียงหรือริมหน้าต่างที่รับแดดอ่อนๆช่วงเช้าได้ค่ะ (ควรหลีกเลี่ยงการวางหน้าคอมเพรสเซอร์แอร์ เนื่องจากลมร้อนที่พัดออกมาจะทำให้ต้นไม้เสียหายได้ค่ะ)
  • อุณหภูมิ ☀️: 13-30 C. และควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอุณหภูมิมากกว่า 35 C
  • น้ำ 💧 : ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ รดน้ำเฉลี่ย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ (สามารถปรับเพิ่มและลดการให้นำได้โดยอิงจากสภาพความชื้นและภูมิอากาศ โดยรดน้ำเมื่อผิวหน้าดินด้านบน 1-2 นิ้วเริ่มแห้ง) ควรระวังอย่าปล่อยให้ดินทั้งกระถางแห้งจนเกินไปและหลีกเลี่ยงน้ำขังที่บริเวณจานรองกระถางเพื่อป้องกันรากเน่า
  • ความชื้น 💦 : เติบโตได้ดีที่ความชื้นในอากาศประมาณ 60%-80% สามารถปลูกในห้องครัว ห้องน้ำ หรือในสวนร่วมกับต้นไม้อื่นๆเพื่ออิงความชื้นกันจะทำให้ต้นไม้แข็งแรงสมบูรณ์ และมีใบที่เงางามค่ะ หากเราปลูกในบ้าน อาจช่วยเพิ่มความชื้นรอบต้นได้ด้วยการวางบนจานรองกระถางที่ใส่เม็ดดินเผาและน้ำไว้ หรือวางไว้ใกล้กับเครื่องทำความชื้น
  • ปุ๋ย 🌱 : สามารถให้ปุ๋ยชนิดเม็ดละลายช้าทุก 3 เดือน และให้ปุ๋ยสูตรละลายน้ำสามารถผสมน้ำแบบเจือจางโดยลดปริมาณปุ๋ยจากอัตราส่วนหน้าฉลากลงครึ่งหนึ่ง รดลงที่ดินปลูกทุก 6 สัปดาห์ค่ะ
  • วัสดุปลูก 💧 : ควรเลือกใช้วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมที่ช่วยเพิ่มความโปร่งและเก็บความชื้นได้ดียกตัวอย่างเช่น เปลือกไม้ กาบมะพร้าวสับ เพอไลท์เมล็ดหยาบ และพีทมอส

ข้อควรรู้

  1. อโลคาเซียมักมีช่วงพักตัว ในระหว่างนั้นใบจะซีดเหลืองและหลุดร่วงไป(ทิ้งใบ) ซึ่งไม่ต้องตกใจ ในช่วงพักตัวต้นอโลคาเซียจะมีความต้องการน้ำและปุ๋ยที่ลดลง ให้ผู้เลี้ยงลดการให้ปุ๋ย และเปลี่ยนการรดน้ำจากเดิมมาเป็นรดเมื่อพบว่าดินแห้งแทนค่ะ
  2. ควรหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนกระถางบ่อยๆโดยไม่จำเป็นเนื่องจากจะเป็นการไปรบกวนระบบรากและทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักได้ค่ะ
  3. เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบแสงสว่างจึงอาจมีอาการเอนเข้าหาแสงหากปลูกเลี้ยงภายในบ้าน ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการหมั่นหมุนกระถางทุกครั้งที่เรารดน้ำเพื่อให้ด้านอื่นๆได้รับแสงอย่างทั่วถึงค่ะ
  4. พืชชนิดนี้มีดอกขนาดเล็กกลีบดอกสีม่วงอ่อนๆซึ่งไม่ค่อยสวยงามนัก หากผู้ปลูกเลี้ยงไม่ต้องการก็สามารถตัดดอกทิ้งไปได้เพื่อสงวนสารอาหารให้กับต้นในการสร้างใบใหม่ต่อไปค่ะ
  5. พืชชนิดนี้สามารถก่ออาการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตาได้ และเป็นไม้ที่เป็นพิษอ่อนๆหากรับประทานเข้าไป ผู้ปลูกเลี้ยงที่มีเด็กและสัตว์เลี้ยงจึงควรระมัดระวังค่ะ
  6. หากพบว่าอโลคาเซียที่เราปลูกเลี้ยงมีใบเหลืองหรือไหม้ โดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ปลูกเลี้ยงสามารถศึกษาข้อมูลได้จาก https://www.kaset32farm.com/article/plant-care/alocasia-turning-yellow/ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขค่ะ

แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้
แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia wentii เวนติไอ

แนะนำพันธุ์ไม้ Alocasia wentii เวนติไอ

Alocasia wentii (อโลคาเซีย เวนติไอ)

ไม้ใบสวยเขตร้อน 🌏 มีใบรูปทรงหัวใจหน้าใบสีเขียวเป็นมันเงา 💚 ลักษณะใบแผ่กว้าง ใต้ใบมีสีบร๊อนซ์อมแดงม่วง 🤎 ขนาดของต้นจะใกล้เคียงกับแก้วสารพัดนึก ความสูงเมื่อโตเต็มที่อาจสูงได้ถึง 60 ซม.(ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ปลูกเลี้ยง) ด้วยขนาดที่ไม่ใหญ่มากจึงเหมาะกับการปลูกเลี้ยงเพื่อตกแต่งบ้านและอาคาร 🏡 ชอบแสงสว่างแบบรำไร ⛅️ เลี้ยงง่าย รดน้ำไม่บ่อย เพียงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

ข้อมูลเบื้องต้น การดูแลรักษา

  • แสงสว่าง ☀️ : ชอบที่ๆมีแสงสว่างค่อนข้างมากแต่ไม่ควรโดนแดดจัดโดยตรงเป็นเวลานานเนื่องจากจะทำให้ใบไหม้แดดได้ สามารถวางบริเวณระเบียงหรือริมหน้าต่างที่รับแดดช่วงเช้าหรือช่วงบ่ายได้บ้าง
  • อุณหภูมิ 🌡: 13-30 C. และควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอุณหภูมิมากกว่า 35 C
  • น้ำ 💧 : ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ รดน้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ (รดน้ำเมื่อผิวหน้าดินด้านบน 1-2 นิ้วเริ่มแห้ง) ควรระวังอย่าปล่อยให้ดินทั้งกระถางแห้งจนเกินไปและหลีกเลี่ยงน้ำขังที่บริเวณจานรองกระถางเพื่อป้องกันรากเน่า
  • ความชื้น 💦 : เติบโตได้ดีที่ความชื้นในอากาศประมาณ 60% สามารถปลูกในห้องครัว ห้องน้ำ หรือในสวนร่วมกับต้นไม้อื่นๆเพื่ออิงความชื้นกันจะทำให้ต้นไม้แข็งแรงสมบูรณ์ และมีใบที่เงางามค่ะ หากเราปลูกในบ้าน อาจช่วยเพิ่มความชื้นรอบต้นได้ด้วยการวางบนจานรองกระถางที่ใส่เม็ดดินเผาและน้ำไว้ หรือวางไว้ใกล้กับเครื่องทำความชื้นค่ะ
  • ปุ๋ย 📋: สามารถให้ปุ๋ยชนิดเม็ดละลายช้าทุก 3 เดือน และให้ปุ๋ยสูตรเสมอชนิดผสมน้ำแบบเจือจางโดยลดปริมาณปุ๋ยจากอัตราส่วนหน้าฉลากลงครึ่งหนึ่ง รดลงที่ดินปลูกเดือนละครั้งค่ะ
  • วัสดุปลูก 🪵 : ควรเลือกใช้วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมที่ช่วยเพิ่มความโปร่งและเก็บความชื้นได้ดียกตัวอย่างเช่น เปลือกไม้ กาบมะพร้าวสับ เม็ดดินเผา เพอไลท์เมล็ดหยาบ และพีทมอส

ข้อควรรู้

  • อโลคาเซียมักมีช่วงพักตัว ในระหว่างนั้นใบจะซีดเหลืองและหลุดร่วงไป(ทิ้งใบ) ซึ่งไม่ต้องตกใจ ในช่วงพักตัวต้นอโลคาเซียจะมีความต้องการน้ำที่ลดลง ให้ผู้เลี้ยงเปลี่ยนการรดน้ำมาเป็นรดเมื่อพบว่าดินแห้งแทนค่ะ
  • พืชชนิดนี้สามารถก่ออาการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตาได้ และเป็นไม้ที่เป็นพิษอ่อนๆหากรับประทานเข้าไป ผู้ปลูกเลี้ยงที่มีเด็กและสัตว์เลี้ยงจึงควรระมัดระวังค่ะ
  • เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบแสงสว่างจึงอาจมีอาการเอนเข้าหาแสงหากปลูกเลี้ยงภายในบ้าน ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการหมั่นหมุนกระถางทุกครั้งที่เรารดน้ำเพื่อให้ด้านอื่นๆได้รับแสงอย่างทั่วถึงค่ะ
  • หากพบว่าอโลคาเซียที่เราปลูกเลี้ยงมีใบเหลืองหรือไหม้ โดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ปลูกเลี้ยงสามารถศึกษาข้อมูลได้จากลิงค์นี้ https://www.kaset32farm.com/article/plant-care/alocasia-turning-yellow เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขค่ะ

แชร์หน้านี้
Posted by Pete Ongsuwan in การดูแลต้นไม้